ซิมโฟนีหมายเลข 7 (ชอสตโกวิช)
ซิมโฟนีหมายเลข 7 (ชอสตโกวิช)

ซิมโฟนีหมายเลข 7 (ชอสตโกวิช)

ซิมโฟนีหมายเลข 7 ของดมีตรี ชอสตโกวิช ในบันไดเสียง ซีไมเนอร์ โอปุสที่ 60 ชื่อเล่นว่า เลนินกราด เริ่มต้นประพันธ์ขึ้นในเลนินกราด ประพันธ์เสร็จในเมืองซามารา (จากนั้นรู้จักกันในชื่อคูบืยเชียฟ) ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2484 และแสดงรอบปฐมทัศน์ในเมืองนั้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2485 ในตอนแรก ซิมโฟนีถูกประพันธ์เพื่ออุทิศให้กับเลนิน ในที่สุดซิมโฟนีก็ถูกนำเสนอเพื่อเป็นเกียรติแก่เมืองเลนินกราดที่ถูกปิดล้อม ซึ่งซิมโฟนีถูกเล่นครั้งแรกภายใต้สถานการณ์ที่เลวร้ายในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2485 เกือบหนึ่งปีหลังจากการปิดล้อมโดยกองทัพเยอรมัน[1][2] การบรรเลงถูกถ่ายทอดโดยลำโพงทั่วเมืองและไปยังกองทัพเยอรมันเพื่อแสดงความยืดหยุ่นและการต่อต้าน ในไม่ช้า เลนินกราด ก็ได้รับความนิยมทั้งในสหภาพโซเวียตและตะวันตกในฐานะสัญลักษณ์ของการต่อต้านลัทธิฟาสซิสต์และเผด็จการ ต้องขอบคุณส่วนหนึ่งที่นักแต่งเพลงบันทึกแผ่นเสียงในซามาราและส่งมอบอย่างลับ ๆ ผ่านเตหะรานและไคโรไปยังนิวยอร์ก ที่อาร์ตูโร ตอสกานีนี ออกอากาศการบรรเลงในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 และนิตยสาร ไทม์ ได้นำรูปชอสตโกวิชขึ้นบนหน้าปก[3] ความนิยมนั้นจางหายไปบ้างหลัง พ.ศ. 2488 แต่ผลงานนี้ก็ยังถือเป็นบทพิสูจน์ทางดนตรีที่สำคัญของชาวโซเวียต 27 ล้านคนที่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่สอง และมักจะเล่นที่สุสานเลนินกราด ซึ่งเป็นที่ฝังศพเหยื่อกว่าครึ่งล้านคนจากการปิดล้อมเลนินกราดเป็นเวลา 900 วัน[4]

ใกล้เคียง

ซิมโฟนีหมายเลข 5 (เบทโฮเฟิน) ซิมโฟนีหมายเลข 3 (เบทโฮเฟิน) ซิมโฟนีหมายเลข 9 (เบทโฮเฟิน) ซิมโฟนีหมายเลข 6 (เบทโฮเฟิน) ซิมโฟนีหมายเลข 6 (ไชคอฟสกี) ซิมโฟนีหมายเลข 1 (ชูมัน) ซิมโฟนีหมายเลข 7 (เบทโฮเฟิน) ซิมโฟนีหมายเลข 2 (ไชคอฟสกี) ซิมโฟนีหมายเลข 1 (ไชคอฟสกี) ซิมโฟนีหมายเลข 41 (โมทซาร์ท)